พระประวัติของพระบรมศาสดา
สกุลกำเนิดและปฐมวัย
ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี พระนางสิริมายา ราชธิดาของกษัตริย์โกลิยวงค์ผู้ครองกรุงเทวทหะ พระมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงประสูตรพระโอรส เมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ณ สวนลุมพินีวัน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ (ปัจจุบัน คือ ตำบลรุมมินเด ประเทศเนปาล)
อสีตดาบส เป็นมหาฤษีอยู่ ณ เชิงเขาหิมพานต์เป็นที่เคารพของราชสกุลได้รับ ทราบข่าวการประสูตรของพระกุมารจึงเดินทางมาเยี่ยม และได้ทำนายว่า ถ้าพระกุมารอยู่ครองฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก ๕ วันหลังประสูติพระเจ้าสุทโธทนะพร้อมทั้งพระนางสิริมหามายา พระประยูรญาติได้จัดพิธีขนานพระนามพระราชกุมารว่า สิทธัตถะ โดยเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คนมาเลี้ยง แล้วได้คัดเลือกเอาพราหมณ์ชั้นยอด ๘ คนให้เป็นผู้ทำนายลักษณะพระกุมาร เมื่อประสูติได้ ๗ วัน พระมารดาก็เสด็จทิวงคต พระเจ้าสุทโธทนะ จึงมอบให้พระนางประชาบดีซึ่งเป็นพระขนิษฐาของพระนางสิริมหามายาเป็นผู้เลี้ยงดู เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะพระชนมายุ 8 พรรษาได้ทรงศึกษาในสำนักครูวิศวะมิตร พระองค์ทรงศึกษาได้อย่างรวดเร็ว มีความจำดีเลิศ และทรงพระปรีชาสามารถในการกีฬา ขี่ม้า ฟันดาบ และยิงธนู
อภิเศกสมรส
วัยหนุ่ม พระราชบิดาไม่ต้องการให้เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกบวช พระองค์ทรงพอพระทัยที่จะให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นองค์จักรพรรดิ จึงใช้ควาพยายามทุกวิถีทางเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา พระราชบิดาได้โปรดให้สร้างปราสาท ๓ หลัง ให้ประทับใน ๓ ฤดู และทรงสู่ขอพระนางโสธราพิมพา พระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งกรุงเทวทหะ อยู่ในตระกูลโกลิยวงค์ให้อภิเษกด้วย เจ้าชายสิทธัตถะได้เสวยสุขสมบัติจนพระชนมายุ ๒๙ พรรษา พระนางยโสาธาราก็ประสูติพระโอรส ทรงพระนามว่าราหุล
ออกบรรพชา
เสด็จออกบรรพชา เจ้าชายสิทธัตถะทรงเบื่อหน่ายในโลกียวิสัย ถึงแม้ว่าพระองค์จะทรงสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติอย่างเหลือล้น พระองค์ก็ยังคงตริตรองถึงชีวิตคน ฝักใฝ่พระทัยคิดค้นหาวิธีทางดับทุกข์ที่มนุษย์เรามีมากมาย พระองค์คิดว่า ถ้ายังอยู่ในเพศฆราวาส พระองค์คงหาทางแก้ทุกข์ อันเกิดจากความแก่ ความเจ็บ ความตายไม่ได้แน่ พระองค์จึงตัดสินใจเสด็จออกบวช โดยพระองค์ทรงม้ากัณฐกะ สู่แม่น้ำอโนมา ณ ที่นี้พระองค์ทรงอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิตและมอบหมายเครื่องประดับและม้ากัณฐกะให้นายฉันนะนำกลับไปยังกรุงกบิลพัสดุ์
เข้าศึกษาในสำนักดาบส
การแสวงหาธรรม ระยะแรกหลังจากทรงออกบวชแล้ว เจ้าชายสิทธัตถะได้ทรงศึกษาในสำนักอาฬารดาบส ที่กรุงราชคฤห์ อาณาจักรมคธเมื่อสำเร็จการศึกษาจากสำนักนี้แล้วพระองค์ทรงเห็นว่าไม่ใช่หนทางในการหลุดพ้นจากทุกข์ตามที่พระองค์ได้ทรงมุ่งหวังไว้พระองค์จึงลาอาฬารดาบสและอุททกดาบสเดินทางไปแถบแม่น้ำคยา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคมแห่งกรุงราชคฤห์ อาณาจักรมคธ
บำเพ็ญทุกรกิริยา
การบำเพ็ญทุกรกิริยา เมื่อพระองค์ทรงเปลี่ยนพระทัยที่จะคิดค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยพระองค์เองแทนที่จะทรงเล่าเรียนในสำนักอาจารย์แล้วพระองค์เริ่มด้วยการทรมานพระวรกายตามวิธีการของโยคี เรียกว่า การบำเพ็ญทุกรกิริยา บริเวณแม่น้ำ เนรัญชรานั้น พระมหาบุรุษได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นเวลา ๖ ปี พระองค์ก็ยังคงมิได้ค้นหาทางหลุดพ้นจากทุกข์ได้ พระองค์ทรงเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา แล้วกลับมาเสวยพระกระยาหารเพื่อบำรุงพระวรกายให้แข็งแรง จะได้มีกำลังในการคิดค้นพบวิธีใหม่ ในขณะที่พระมหาบุรุษได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยานั้น ได้มีปัญจวัคคีย์มาคอยปรนนิบัติรับใช้ด้วยความหวังว่า พระมหาบุรุษได้ตรัสรู้แล้วพวกตนจะได้รับการถ่ายทอดบ้าง และเมื่อพระมหาบุรุษล้มเลิกการบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจวัคคีย์ก็ได้ชวนกันละทิ้งมหาบุรุษไปทั้งหมดเป็นผลทำให้พระมหาบุรุษได้อยู่ตามลำพังในที่สงบเงียบ ปราศจากสิ่งรบกวนทั้งปวง ปัญจวัคคีไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี พระองค์ได้ทรงตั้งพระสติและเดินทางกายกลาง คือ การปฏิบัติในความพอเหมาะพอควร
ตรัสรู้
ตรัสรู้ ตอนเช้าวันเพ็ญเดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ นางสุชาดาได้นำข้าวมธุปายาสเพื่อไปบวงสรวงเทวดา ครั้นเห็นพระมหาบุรุษประทับที่โคนต้นไทรด้วยอาการสงบ นางคิดว่าเป็นเทวดา จึงถวายทอดข้าวมธุปายาสแล้วเสด็จไปริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตอนเย็นวันนั้นเองพระองค์ได้กลับมายังต้นโพธิ์ที่ประทับ พบคนหาบหญ้าชื่อโสตถิยะ คนหาบหญ้าได้ถวายหญ้าให้พระองค์ปูลาด ณ ใต้ต้นโพธิ์ แล้วขึ้นประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า แม้เลือดในกายของเราจะเหือดแห้งไปเหลือแต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตาม ถ้ายังไม่พบธรรมวิเศษแล้วจะไม่ยอมหยุดความเพียรเป็นอันขาด เมื่อทรงตั้งจิตอธิษฐานแล้ว พระองค์ก็ทรงสำรวมจิตให้สงบแน่วแน่ พระองค์เริ่มบำเพ็ญเพียรทางจิต และในที่สุดทรงชนะความลังเลพระทัย ทรงบรรลุความสำเร็จ เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นอย่างนี้ จิตก็พ้นจากกิเลสทั้งปวง พระองค์ก็ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ปีระกาธรรมสูงส่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น คือ อริยสัจ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค
ประกาศพระศาสนาครั้งแรก
การแสดงปฐมเทศนา วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนอาสาฬหะ (เดือน ๘) ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน พระพุทธเจ้าเสด็จไปหาปัญจวัคคีย์ พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เรียกว่า ธรรมจักกัปวัตนสูตร ในขณะที่ทรงแสดงธรรมนั้น ท่านโกณฑัญญะได้ธรรมจักษุ คือ พระโสดาบัน ได้ทูลขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของสัมมสัมพุทธเจ้า เรียกการบวชครั้งนี้ว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระอัญญาโกณฑัญญะ จึงเป็นพระภิกษุรูปแรกในพุทธศาสนา
การประกาศพระพุทธศาสนา
เมื่อพระองค์ มีสาวกเป็นพระอรหันต์ ๖๐ องค์ และก็ได้ออกพรรษาแล้ว ทรงพิจารณาเห็นสมควรว่าจะออกไปประกาศศาสนา ให้เป็นที่แพร่หลายได้แล้ว พระองค์จึงเรียกประชุมสาวกทั้งหมดแล้วตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราได้พ้อนจากบ่วงทั้งปวงทั้งชนิดที่เป็นทิพย์ และชนิดที่เป็นของมนุษย์แล้ว แม้ท่านทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน เราทั้งหลายจงพากันจาริกไปยังชนบททั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่มหาชนเถิด อย่าไปรวมกันทางเดียวถึงสองรูปเลย จงแสดงธรรมให้งามทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ เถิด จงประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสเบาบางนั้นมีอยู่ เพราะโทษที่ไม่ได้ฟังธรรม ย่อมจะเสื่อมจากคุณที่จะพึงได้ถึง ผู้รู้ทั่วถึงธรรมคงจักมีอยู่ แม้ตัวเราก็จะไปยังอุรุเวลาเสนานิคม เพื่อแสดงธรรมเช่นกัน " พระองค์ทรงส่งสาวกออกประกาศศาสนาพร้อมกันทีเดียว ๖๐ องค์ ไป ๖๐ สาย คือ ไปกันทุกสารทิศทีเดียว แม้พระองค์เองก็ไปเหมือนกัน ไม่ใช่แต่สาวกอย่างเดียวเท่านั้น นับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของบุคคลที่จะเป็นผู้นำทีเดียว
สาวกทั้ง ๖๐ องค์เมื่อได้รับพุทธบัญชาเช่นนั้นก็แยกย้ายกันไปประกาศศาสนาตามจังหวัด อำเภอ และตำบลต่างๆ ทำให้กุลบุตรในดินแดนถิ่นฐานต่าง ๆ เหล่านั้น หันมาสนใจมากเลื่อมใสมากขึ้น บางคนขอบวช แต่สาวกเหล่านั้นยังให้บวชเองไม่ได้ จึงต้องพากุลบุตรเหล่านั้นมาเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อให้พระองค์บวชให้ทำให้ได้รับความลำบากในการเดินทางมาก ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้สาวกเหล่านั้นอุปสมบทกุลบุตรได้โดยโกนผมและหนวดเคราเสียก่อน แล้วจึงให้นุ่งห่มผ้าย้อมด้วยน้ำฝาด นั่งคุกเข่าพนมมือกราบภิกษุแล้วเปล่งว่าจาว่า "ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ" รวม ๓ ครั้ง การอุปสมบทนี้เรียกว่า "ติสรณคมนูปสัมปทา" คือ อุปสมบทโดยวิธีให้ปฏิญญาณตนเป็นผู้ถึงสรณคมน์
ตั้งแต่พรรษาที่ ๑ ที่พระองค์ได้สาวกเป็นพระอรหันต์จำนวน ๖๐ องค์แล้วพระองค์ก็ได้อาศัยพระมหากรุณาคุณทำการประกาศเผยแผ่คำสอน จนได้สาวกเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เป็นพุทธบริษัท ๔ ขึ้น อย่างแพร่หลายและมั่นคง การประกาศศาสนาของพระองค์ได้ดำเนินการไปอย่างเข้มแข็ง โดยการจาริกไปยังหมู่บ้านชนบทน้อยใหญ่ในแคว้นต่างๆ ทั่วชมพูทวีปตลอดเวลาอีก ๔๔ พรรษาคือ พรรษาที่ ๒ - ๔๕ ดังนี้
พรรษาที่ ๒ เสด็จไปยังเสนานิคมในตำบลอุรุเวลา ในระหว่างทางได้สาวกกลุ่ม ภัททวคคีย์ ๓๐ คน และที่ตำบลอุรุเวลาได้ ชฎิล ๓ พี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ และ คยากัสสปะ กับศิษย์ ๑,๐๐๐ คน เทศนาอาทิตตปริยายสูตร ที่คยาสีสะเสด็จไปยังราชคฤห์แห่งแควว้นมคธ กษัตริย์เสนิยะพิมพิสาร ทรงถวายสวนเวฬุวัน แด่คณะสงฆ์ ได้สารีบุตร และโมคคัลลานะเป็นสาวก อีก ๒ เดือนต่อมาเสด็จไปยังกบิลพัสดุ์ ทรงพำนักที่ นิโครธาราม ได้สาวกมากมาย เช่น นันทะ ราหุล อานนท์ เทวทัต และพระญาติอื่นๆ อนาถปิณฑิกะเศรษฐี อาราธนาไปยังกรุงสาวัตถีแห่งแคว้นโกศล ถวายสวนเชตวันแต่คณะสงฆ์ ทรงจำรรษาที่นี่
พรรษาที่ ๓ นางวิสาขาถวายบุพพาราม ณ กรุงสาวัตถี ทรงจำพรรษาที่นี่
พรรษาที่ ๔ ทรงจำพรรษาที่เวฬุวัน ณ กรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ
พรรษาที่ ๕ โปรดพระราชบิดาจนได้บรรลุอรหัตตผล ทรงไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างพระญาติฝ่ายสักกะกับพระญาติฝ่ายโกลิยะเกี่ยวกับการใช้น้ำในแม่น้ำ โรหิณี ทรงบรรพชาอุปสมบทพระนางปชาบดีโคตมี และคณะเป็นภิกษุณี
พรรษาที่ ๖ ทรงแสดงยมกปาฏิหารย์ในกรุงสาวัตถีย์ ทรงจำพรรษาบนภูเขามังกลุบรรพต
พรรษาที่ ๗ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่กรุงสาวัตถี ระหว่างจำพรรษาเสด็จขึ้นไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์โปรดพุทธมารดาด้วยพระอภิธรรม
พรรษาที่ ๘ ทรงเทศนาในแคว้นภัคคะ ทรงจำพรรษาในสวนเภสกลาวัน
พรรษาที่ ๙ ทรงเทศนาในแคว้นโกสัมพี
พรรษาที่ ๑๐ คณะสงฆ์แห่งโกสัมพีแตกแยกกันอย่างรุนแรง ทรงตกเตือนไม่เชื่อฟัง จึงเสด็จไปประทับและจำพรรษาในป่า ปาลิเลยยกะ มีช้างเชือกหนึ่งมาเฝ้าพิทักษ์และรับใช้ตลอดเวลา
พรรษาที่ ๑๑ เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี คณะสงฆ์แห่งโกสัมพีปรองดองกันได้ ทรงจำพรรษาในหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อ เอกนาลา
พรรษาที่ ๑๒ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่เวรัญชา เกิดความอดอยากรุนแรง
พรรษาที่ ๑๓ ทรงเทศนาและจำพรรษาบน ภูเขาจาลิกบรรพต
พรรษาที่ ๑๔ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่กรุงสาวัตถี ราหุลขอบรรพชาอุปสมบท
พรรษาที่ ๑๕ เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ สุปปพุทธะถูกแผ่นินสูบเพราะขัดขวางทางโคจร
พรรษาที่ ๑๖ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่ อาลวี
พรรษาที่ ๑๗ เสด็จไปยังกรุงสวัตถี กลับมายังอาลวีและทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์
พรรษาที่ ๑๘ เสด็จไปยัง อาลวี ทรงจำพรรษาบน ภูเขาจาลิกบรรพต
พรรษาที่ ๑๙ ทรงเทศนาและจำพรรษาที่บน ภูเขาจาลิกบรรพต
พรรษาที่ ๒๐ โจร องคุลีมาลย์ กลับใจเป็นสาวก ทรงแต่งตั้งให้พระอานนท์ รับใช้ใกล้ชิดตลอดกาล ทรงจำพรรษาที่กรุงราชคฤห์ ทรงเริ่มบัญญัติวินัย
พรรษาที่ ๒๑ - ๔๔ ทรงยึดเอาเชตวันและบุพพารามในกรุงราชคฤห์เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่และเป็นที่ประทับจำพรรษา เสด็จพร้อมสาวกออกเทศนาโปรเวไนยสัตว์ตามแว่นแคว้นต่าง ๆ โดยรอบ
พรรษาที่ ๔๕ และสุดท้าย พระเทวทัต คิดปลงพระชนม์ กลิ้งก้อนหินจนเป็นเหตุให้พระบาทห้อโลหิต ทรงได้รับการบำบัดจากหมอชีวก
ทรงปรินิพาน
การเสด็จปรินิพพาน หลังจากพระพุทธเจ้าแสดงปัจฉิมโอวาท ซึ่งวันนั้นตรงกับวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) ในยามสุดท้ายของวันนั้น ณ ป่าไม้สาละ(สาลวันอุทยาน) ของกษัตริย์มัลละ กรุงกุสินารา พระองค์ได้ประทับใต้ต้นสาละคู่ หลังจากตรัสโอวาทให้แก่พระอริยสงฆ์แล้ว พระองค์มิได้ตรัสอะไรอีกแล้วเสด็จปรินิพพาน ด้วยพระอาการสงบ ซึ่งเป็นที่น่าอัศจรรย์นักที่วันประสูติ วันตรัสรู้ และวันปรินิพพานของพระพุทธเจ้าตรงกัน คือ วันเพ็ญเดือน ๖